โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์เป็นโรงเรียนชั้นนำแห่งการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยี มีนวัตกรรม ผลิตคนดีสู่สังคม” โรงเรียนได้จัดทำ SWOT Analysis กับผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน สู่การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี ภายใต้วงจรควบคุมคุณภาพ (PDCA) และโมเดลกระบวนการบริหาร 2I5E ได้แก่ I-Teacher, I-Classroom, E-student Care, E-Learning, E-Office, E-Library และ E-Acadamic โดยมีแนวทางในการพัฒนาได้แก่ จัดอบรมครูและบุคลากรให้ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน พัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ พัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นประเด็นท้าทาย(Best Practice) ประจำปีการศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการบริหารและการจัดการเรียนรู้
ข้อมูลปีการศึกษา 2565
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562-2564
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562-2564
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน
ปีการศึกษา 2564
นวัตกรรมการศึกษา
การพัฒนาบอร์ดสมองกล IoT (Internet of things)
การพัฒนาบอร์ดสมองกล IoT สำหรับใช้ในการเรียนรู้ รายวิชา Internet of Things ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ผลงานนวัตกรรมของครูกิตติศักดิ์ ภุมรินทร์ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนใช้บอร์ดสมองกล IoT ในการเรียนรู้ โดยได้เรียนรู้ทั้งกระบวนการทางด้าน Hardware และ Software ทำให้นักเรียนมีทักษะในการเชื่อมโยงกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ Hardware ควบคู่ไปกับ Software นักเรียนจึงจะมีทักษะในการออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ Internet of Thing อย่างแท้จริง และครบถ้วนทุกกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้บอร์ดสมองกล IoT ชุดนี้ ได้ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับครูผู้สอนที่ไม่มีความชำนาญทางด้าน Hardware ไม่จำเป็นต้องต่อสาย Jumper ให้ยุ่งยาก ไม่เสี่ยงกับการต่อสายไฟกลับขั้ว ใช้แหล่งพลังงานได้จากหลายที่ ผลการดำเนินงาน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับ ดีเยี่ยม และมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดสมองกลในระดับดีมาก
การศึกษาความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการใช้บอร์ดเกม
การศึกษาความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการใช้บอร์ดเกมประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ โดยวิธีการสอนในรูปแบบนี้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มีจิตสำนึกในการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน เมื่อนักเรียนได้เล่นบอร์ดเกม TyranT Board Game แล้ว ได้มีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนมีทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหลังจากเล่นบอร์ดเกม ร้อยละ 20 ผลงานนวัตกรรมโดยครูสิลารัฐ อรุณธัญญา
KN ENJOY MODEL รูปแบบการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่
อย่างมีความสุข
KN ENJOY MODEL รูปแบบการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่อย่างมีความสุข เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่(์New Normal) เกิดองค์ความรู้ต่อผู้เรียน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้มีความเพลิดเพลิน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต่อเนื่องจนครบถ้วนตามขั้นตอนการเรียนรู้ ในลักษณะกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ ทั้งรูปแบบ On-line, On-site และ On-hand เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมแสดงความคิดเห็น นำเสนอผลงานผ่านความคิดสร้างสรรค์เกิดองค์ความรู้ควบคู่กับการเสริมสร้างสุขภาวะแก่ผู้สอนและผู้เรียน โดยได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศจากการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุค New Normal ผลงานนวัตกรรมโดยครูอัญชลี โชคสมกิจ, ครูบุณยาพร เคนไชยวงค์, ครูรุจิกร ตุลาธาร และครูศุภลักษณ์ พึ่งกริม ครูกลุ่มสาระฯภาษาไทย โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
ผลงานนักเรียน
Post
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศนำนักเรียนในโครงการพัฒนาศักยภาพ Math-Science Students เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ของนักเรียนโครงการพัฒนาศักยภาพ Math-Science Students ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2565 จำนวน 140 คน ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า จ.ปทุมธานี เพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนาศักยภาพ เกิดการเรียนรู้ และได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ภายนอก และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ รวมถึงมีทักษะกระบวนการในการบูรณาการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน